TESA Top Gun Rally (TGR)
บทสรุปสำหรับผู้บริหารและเครือข่าย
TESA Top Gun Rally เป็นเวทีสำหรับการค้นหาสุดยอดฝีมือวิศวกรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทย ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้เป็นตัวแทนของแต่ละสถาบันการศึกษาเพื่อเข้าร่วมประชันทักษะในครั้งนี้ ล้วนต้องผ่านการคัดเลือก ทดสอบ และสัมภาษณ์จากคณะกรรมการของแต่ละสถาบันมาเป็นอย่างดี ทั้งด้านวิชาการ ทัศนคติ และสังคม
สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association : TESA) โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และผู้พัฒนา ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว (TESA Top Gun Rally) ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทย ให้มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากทางสถาบันการศึกษา จำนวน 25-30 สถาบัน ที่ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมแสดงความสามารถในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว ในระหว่างช่วงปิดภาคการศึกษาต้นของทุกปี โดยจะหมุนเวียนไปตาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม และได้เสนอขอเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
รูปแบบของการดำเนินโครงการจะจัดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยให้ทีมนักศึกษาจำนวน 5 คนจากแต่ละสถาบันการศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ รวมทั้งได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับงานพัฒนาจากการแก้ปัญหาต่างๆที่กำหนดในแต่ละวันบนหลักการของ Problem-Based Learning ในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาของแต่ละทีมจะได้รับโอกาสในการประชันความสามารถและทักษะในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การนำเสนอ และ ความชำนาญในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งคณะกรรมการจะประเมินออกมาเป็นคะแนนสะสมในแต่ละครั้ง ทีมนักศึกษาที่มีคะแนนสะสมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประชัน
ประวัติของกิจกรรม
ครั้งที่ 1 ในปี 2549 จัดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีหัวข้อคือ Segway Controller
ครั้งที่ 2 ในปี 2550 จัดที่มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีหัวข้อคือ Tsunami Disaster Warning System
ครั้งที่ 3 ในปี 2551 จัดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีหัวข้อคือ Real-Time Engine Control Unit (ECU)
ครั้งที่ 4 ในปี 2552 จัดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีหัวข้อคือ Smart Home Wireless Sensor Network
ครั้งที่ 5 ในปี 2553 จัดที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีหัวข้อคือ Quality Inspection for Smart Factory
ครั้งที่ 6 ในปี 2554 จัดที่มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีหัวข้อคือ Patient Monitoring System
ครั้งที่ 7 ในปี 2555 จัดที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง โดยมีหัวข้อคือ Distributed Power Quality Monitoring System
ครั้งที่ 8 ในปี 2556 จัดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีหัวข้อคือ Energy Controller and Monitoring in Home Area Network System
ครั้งที่ 9 ในปี 2558 จัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีหัวข้อคือ การพัฒนาอิงแบบจำลอง: ระบบคันเร่งไฟฟ้า
(Model-Based Development: Electronic Throttle Control)ครั้งที่ 10 ในปี 2559 จัดที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีหัวข้อคือ ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Class Room)
ครั้งที่ 11 ในปี 2560 จัดที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยมีหัวข้อคือ ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับเกษตรกร
(Predictive Monitoring Systems)ครั้งที่ 12 ในปี 2561 จัดที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยมีหัวข้อคือ ระบบอัจฉริยะสำหรับอุทยานแห่งชาติ 4.0
(Smart National Park 4.0: Universal National Park Box)ครั้งที่ 13 ในปี 2562 จัดที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีหัวข้อคือ ระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0
(Smart National Historic Site 4.0)ครั้งที่ 14 ในปี 2563 จัดที่มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีหัวข้อคือ ระบบติดตามเฝ้าระวัง และจัดการสุขภาวะแก่ผู้สูงวัย และประชาชนทั่วไป
(Health Monitoring and Management Systems for Elderly and All Kinds of People)ครั้งที่ 15 ในปี 2564 จัดที่มหาวิทยาลัยสยาม ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อ คือ ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing System)
ครั้งที่ 16 ในปี 2565 จัดที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา โดยมีหัวข้อ คือ การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับจักรวาลนฤมิตร (Device Development for Metaverse)
TESA Top Gun Rally 2023
การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 17 (TESA Top Gun Rally 2023)
TESA Top Gun Rally 2022
การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 16 หรือเรียกสั้นๆ ว่า #TGR2022 ในหัวข้อ "การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับจักรวาลนฤมิตร" (Device Development for Metaverse) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 5-10 กันยายน 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
TESA Top Gun Rally 2021
การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 15 หรือเรียกสั้นๆ ว่า #TGR2021 ในหัวข้อ “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” (Smart Manufacturing System) ซึ่งในปีนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สยาม บริษัท กสท. โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชันทักษะจำนวน 165 คน แยกเป็นชาย 142 คน และผู้หญิง 23 คน จาก 22 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
TESA Top Gun Rally 2020
การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 14 หรือเรียกสั้นๆ ว่า #TGR2020 ในหัวข้อ "ระบบติดตามเฝ้าระวัง และจัดการสุขภาวะแก่ผู้สูงวัย และประชาชนทั่วไป" (Health Monitoring and Management Systems for Elderly and All Kinds of People) ที่มหาวิทยาลัยพะเยา